ทำไมผู้คนจึงกล่านขานกันว่า ถนนเยาวราช คือ ถนนสายมังกร?!?
"ถนนเยาวราช"ใช้เวลาสร้างกว่าจะเสร็จสมบูรณ์นานถึง 8 ปี คือเริ่มสร้างเมื่อปีพ.ศ.2435 และเสร็จสมบูรณ์ในปี 2443 ทั้งที่เป็นถนนที่มีความยาวเพียง 1,410 เมตร เส้นทางสายนี้ เริ่มตั้งแต่คลองรอบกรุง ตรงข้ามป้อมมหาไชย ตัดลงไปทางทิศใต้ บรรจบถนนจักรวรรดิ เรียกว่า"สี่แยกวัดตึก" ผ่านถนนราชวงศ์ " เรียก""สี่แยกราชวงศ์"" ก่อนไปบรรจบถนนเจริญกรุงก่อนถึงวัดไตรมิตรฯ"
ถนนเยาวราช สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามโครงการถนน อำเภอสำเพ็ง ซึ่งเป็นนโยบายสร้างถนนในท้องที่ที่เจริญแล้ว เพื่อส่งเสริมการค้าขาย "เยาวราช"เป็น 1 ใน 18 ถนนที่สมเด็จกรมเจ้าพระยานริศรานุวัตตวงศ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ กราบบังคมทูลว่า จะสร้างถนน ใน พ.ศ.2434 โดยให้ชื่อว่าถนนยุพราช และต่อมาทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อใหม่เป็น"ถนนเยาวราช"
เอกสารของกรมโยธาธิการ ระบุว่า การสร้างถนนเยาวราชประสบอุปสรรคหลายประการ เนื่องจากมีผู้คนอยู่อาศัยหนาแน่น นับแต่เริ่มกรุยทางใน พ.ศ. 2435 จนถึง พ.ศ.2438 เพราะกระทรวงโยธา ธิการต้องการที่ดินเพื่อสร้างถนนให้แล้วเสร็จ แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริว่า ไม่ต้องพระประสงค์ตัดถูกที่ดินของชาวบ้าน โดยมุ่งให้ใช้แนวเดิมที่เป็นทางเกวียนหรือแนวทางเดิน ขณะที่ทางกระทรวงนครบาลก็พยายามที่จะให้ราษฎรได้รับเงินค่าที่ดินจากรัฐบาลให้เรียบร้อยกระทั่งในปีพ.ศ.2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำเนินการ ถ้าเจ้าของที่ดินผู้ที่ไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ก็ให้กระทรวงนครบาลเป็นผู้ฟ้องกรมอัยการ ทำให้การตัดถนน " เยาวราชดำเนินการต่อไปได้"
ในเดือนกรกฎาคม 2443 กระทรวงโยธาธิการ ได้ขยายถนนเยาวราชออกเป็น 12 วา ในที่ที่ยังว่างอยู่ และเนื่องจากถนนสายนี้มีการก่อสร้างอาคารขึ้นตามริมทางแล้ว ทางการจึงต้องรีบขุดรางน้ำและถมปลายถนน ปลูกต้นไม้ห่างจากริมถนน 10 ศอก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจเพิ่มเติมว่า เนื่องจากถนนตอนบนขยายไม่ได้ ขยายได้แต่ตอนล่างซึ่งเป็นที่ว่าง การแก้ท่อน้ำจึงต้องค่อยๆแปรให้กว้างออกไป การตัดถนนเยาวราชจึงสำเร็จเรียบร้อยอย่างสมบูรณ์ การตัดถนนที่คงไว้ตามพระราชองค์การดำรัสเหนือเกล้าฯ ทำให้ถนนเยาวราชเป็นไปแบบคดไปเคี้ยวมา จนมีคนบอกว่าเป็นเหมือนมังกร
ความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ณ.ถนนเยาวราช ตัดกับซอยมังกรในอดีตเป็นโรงหนังคาเธ่ย์ แต่ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น ธนาคาร ไอซีบีซี แล้ว
|
ความคิดเห็น